วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างข้อสอบจรรยาบรรณ

1. นาย ก. ตกลงทำประกันชีวิต และได้ชำระเบี้ยประกันผ่าน นาย ข. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิต นาย ข. เห็นว่าการชำระเบี้ยประกันมีระยะเวลาผ่อนผัน 30 วัน จึงนำเงินนั้นไปใช้ส่วนตัว และนำส่งบริษัทภายหลังโดยไม่เกินระยะเวลาผ่อนผันนั้น ท่านคิดว่าการกระทำของนาย ข. ถูกหรือไม่
ตอบ ผิดจรรยาบรรณข้อ 1 เนื่องจาก นาย ข.ไม่ ซื่อสัตย์ ต่อนาย ก. และบริษัทฯ

2. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทแห่งหนึ่ง ได้ชักชวนให้ นาย ข. ซึ่งเป็นเพื่อนทำประกันชีวิต ต่อมา นาย ข. ป่วยเป็นวัณโรค เมื่อ นาย ก. ทราบว่า นาย ข. ป่วยเป็นโรคติดต่อ ก็ได้นำเรื่องที่ นาย ข. ป้วยไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก การกระทำของนาย ก. ผิดจรรยาบรรณหรือไม่
ตอบ ผิดจรรยาบรรณข้อ 3 เนื่องจากนาย ก. เปิดเผยความลับของผู้เอาประกันต่อบุคคลภายนอก

วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต

ประกันชีวิต เป็นการสร้างหลักประกันให้กับตนเอง และครอบครัว การประกันชีวิตไม่จำเป็นที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินหลังจากผู้ทำประกันเสียชีวิตแล้วเท่านั้น ผู้ทำประกันชีวิตสามารถเลือกทำประกันชีวิตคุ้มครอง ความมั่นคง ให้กับตนเองได้ เช่น การประกันสะสมทรัพย์ หรือแบบเงินได้ประจำ การทำประกันทั้งสองแบบนี้ ถ้าผู้ทำประกันมีชีวิตอยู่จนถึงกรมธรรม์ครบกำหนด ก็จะมีเงินเก็บสะสมไว้จำนวนหนึ่งไว้ใช้ยามแก่ แต่ถ้าผู้ทำประกันเสียชีวิตก่อนเวลาอันสมควร เงินประกันก็จะตกเป็นของผู้รับประโยชน์ ซึ่งอาจจะเป็นพ่อแม่ สามี ภรรยา หรือบุตร ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ และเนื่องจากรัฐบาลเล็งเห็นประโยชน์ของการทำประกันชีวิตจึงให้การสนับสนุนโดยผู้เอาประกันสามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก จะเห็นว่าประโยชน์ของการทำประกันชีวิตมีมากมายเลยทีเดียว

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตัวแทนประกันชีวิต

 หลักจรรยาบรรณวิชาชีพตัวแทนประกันชีวิต เป็นหัวข้อสำคัญที่ตัวแทนประกันชีวิตทุกคนต้องตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ตัวแทนประกันชีวิตที่ใช้หลักจรรยาบรรณ 10 ข้อ ในการดำรงไว้ซึ่งอาชีพตัวแทนประกันชีวิต จะนำมาซึ่งความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ความศรัทธา อันจะส่งผลต่อความมั่นคงในอาชีพในอนาคตด้วย หัวข้อจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพประกันชีวิต เป็นหัวข้อสำคัญที่ตัวแทนประกันชีวิตจะต้องสอบผ่านให้ได้จำนวน 7 ข้อ จากทั้งหมด 10 ข้อ หากไม่ผ่าน 7 ข้อ จะไม่พิจารณาข้อสอบหัวข้ออื่นเลย หลักจรรยาบรรณวิชาชีพตัวแทนประกันชีวิตจำนวน 10 ข้อ สรุปได้มีดังนี้

 1. มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้เอาประกันภัย บริษัท และเพื่อนร่วมอาชีพ
 2. ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย
 3. รักษาความลับอันมิควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัย และของบริษัทต่อบุคคลภายนอก
 4. เปิดเผยข้อมูลความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อการพิจารณารับประกันภัย หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ต่อบริษัท
 5. ไม่เสนอแนะให้ผู้ขอเอาประกันภัย ทำประกันเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย หรือเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์
 6. ไม่เสนอแนะให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิม เพื่อทำสัญญาใหม่ หากทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์
 7. ไม่ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จ เพื่อเป็นการจูงใจให้เอาประกันชีวิต
 8. ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงามทั้งธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรีและคุณธรรมแห่งอาชีวปฎิญาน
 9.ไม่กล่าวให้ร้าย ทับถมตัวแทน หรือบริษัทอื่น
10 หมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำอาชีพเสริม

ปัจจุบันการเติมเงินมือถือออนไลน์ไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายเดินทางไปซื้อบัตรมาขูดหาเลขแล้วละค่ะ เรามีทางเลือกดี ๆ มาแนะนำเติมเงินมือถือทุกระบบ http://www.ampay.in.th/accounts/register/?referrer=preeya เป็นระบบที่รวดเร็ว เติมเองก็ดี เป็นอาชีพเสริมก็ได้

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แบบประกันชีวิต

การประกันชีวิตมีมากมายหลายแบบ แต่ละแบบจะมีลักษณะความคุ้มครองและผลประโยชน์แตกต่างกันออกไป แบบการประกันชีวิตพื้นฐานมีอยู่ 4 แบบคือ


แบบตลอดชีพ เป็น การประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่อใดในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการประกันภัยแบบนี้เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับจุนเจือ บุคคลที่อยู่ในความอุปการะเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการเจ็บป่วยครั้งสุดท้ายและค่าทำศพ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระของคนอื่น


แบบสะสมทรัพย์เป็น การประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกัน ภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ ส่วนของการออมทรัพย์ คือส่วนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับคืนเมื่อสัญญาครบกำหนด

แบบชั่วระยะเวลา เป็น การประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้ เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาประกันภัย วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง การเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร การประกันชีวิตแบบนี้ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ เบี้ยประกันภัยจึงต่ำกว่าแบบอื่น ๆ และไม่มีเงินเหลือคืนให้หากผู้เอาประกันภัยอยู่จนครบกำหนดสัญญา

แบบเงินได้ประจำ เป็น การประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเท่ากันอย่างสม่ำ เสมอให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกเดือน นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี เป็นต้นไป แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ สำหรับระยะเวลาการจ่ายเงินได้ประจำนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอา ประกันชีวิตที่จะเลือกซื้อ

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเภทของประกันชีวิต

1. ประเภทสามัญ เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท และมีการชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี, ราย 6 เดือน, ราย 3 เดือน หรือรายเดือน

2. ประเภทอุตสาหกรรม เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ โดยทั่วไปตั้งแต่ 10,000 - 30,000 บาท เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำ การชำระเบี้ยประกันภัยจะชำระเป็นรายเดือน และไม่มีการตรวจสุขภาพ ฉะนั้นจึงมีระยะเวลารอคอย คือ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บตามธรรมชาติ บริษัทจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ แต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระมาแล้วทั้งหมด

3. ประเภทกลุ่ม เป็นการประกันชีวิตที่กรมธรรม์หนึ่งจะมีผู้เอาประกันชีวิตร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ส่วนมากจะเป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท ในการพิจารณารับประกันอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัท การประกันชีวิตกลุ่มนี้อัตราเบี้ยประกันชีวิตจะต่ำกว่าประเภทสามัญและประเภท อุตสาหกรรม

ประกันชีวิตคืออะไร

การประกันชีวิต เป็นวิธีการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งร่วมกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องจากการตาย การสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และการสูญเสียรายได้ในยามชรา โดยที่เมื่อบุคคลใดต้องประสบกับภัยเหล่านั้น ก็ได้รับเงินเฉลี่ยช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัว โดยบริษัทประกันชีวิตจะทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการนำเงินก้อนดังกล่าวไปจ่าย ให้แก่ผู้ได้รับภัย